ธรรมดาของชีวิต และ ฐานะ ๕ ที่ควรพิจารณาเนืองๆ

birth,aging, old age and death

เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้

เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้

เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้

เราจักพลัดพรากจากของที่รัก ของชอบใจทั้งหลาย

เรามีกรรมเป็นของๆตน เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นเรามีกรรมเป็นแดนเกิด เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธ์

เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้เป็นกรรมดีก็ตาม เป็นกรรมชั่วก็ตาม

เราจักต้องเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น เราทั้งหลายพึงพิจารณาเนืองๆอย่างนี้แล

เหตุผลที่ควรพิจารณาฐานะ ๕ เนืองๆ

๑. ความเมาใน”ความเป็นหนุ่มเป็นสาว” ของสัตว์ทั้งหลายมีอยู่ ซึ่งเป็นเหตุให้ประพฤติทุจจริตทางกาย วาจา ใจ เมื่อพิจารณาฐานะนั้นเนืองๆ ก็จะละความเมาใน”ความเป็นหนุ่มเป็นสาว” ได้สิ้นเชิง หรือความเมาใน ความเป็นหนุ่มเป็นสาวนั้น จะลดน้อยลงไปเพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงควรพิจาณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้”

๒. ความเมาใน”ความไม่มีโรค” ของสัตว์ทั้งหลายมีอยู่ >>>ซึ่งเป็นเหตุให้ประพฤติทุจจริตทาง กาย วาจา ใจ. เมื่อพิจารณาฐานะนั้นเนืองๆ ก็จะละความเมาใน”ความไม่มีโรค” นั้นได้สิ้นเชิง หรือความเมา ในความไม่มีโรคนั้นจะลดน้อยลงไป เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้”

๓. ความเมาใน”ชีวิต” ของสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ >>>ซึ่งเป็นเหตุให้ประพฤติ ทุจจริตทางกาย วาจา ใจ. เมื่อพิจารณาฐานะนั้นเนืองๆ ก็จะละความเมาใน “ชีวิต” นั้นได้สิ้นเชิง หรือความเมาในชีวิตนั้น จะลดน้อยลงไปเพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้”

๔. ความติดด้วยอำนาจแห่งความพอใจ ในสิ่งเป็นที่รักของสัตว์ทั้งหลายมีอยู่ >>>ซึ่งเป็นเหตุให้ประพฤติทุจจริตทางกาย วาจา ใจ เมื่อพิจารณาฐานะ นั้นเนืองๆ ก็จะละความคิดด้วยอำนาจ แห่งความพอใจในสิ่งที่เป็นที่รักได้สิ้นเชิง หรือความคิดด้วยอำนาจ แห่งความพอใจในสิ่งเป็นที่รักนั้น จะลดน้อยลงไปเพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งปวง”

๕. ทุจจริตทางกาย วาจา ใจ ของสัตว์ทั้งหลายมีอยู่ >>>เมื่อพิจารณาฐานะนั้นเนืองๆ ก็จะละทุจจริตได้สิ้นเชิง หรือทุจจริตนั้น จะลดน้อยลงไปเพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น.”

ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๘๑

Author: Singkham
I regularly blog on dhamma, Buddhist news, How to IT, and more